การเลี้ยงปลาดุกในโอ่งเก็บน้ำ
การเลี้ยงปลาดุก เป็น วิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลี้ยงกันได้ง่าย และสำหรับสถานที่ก็ใช้พื้นที่ไม่เยอะ และสามารถเคลื่อนย้ายท่อปูนซีเมนต์ได้ง่ายด้วย ค่าลงทุนในการการเลี้ยงก็ไม่มากสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ ส่วนผลตอบแทนก็เป็นที่น่าภูมิใจครับ
1. เติมน้ำลงในโอ่งน้ำประมาณ 2 ฟุต ปล่อยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แล้วค่อยนำปลามาปล่อย อัตราการปล่อยปลา 100-150 ตัว
2. การเปลี่ยนถ่ายน้ำ เปลี่ยนน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใช้วิธีการเพิ่มปริมาณน้ำำครั้งละ 1 ฟุต ทุก 2 วัน จนกว่าปริมาณน้ำจะเต็มโอ่ง หลังจากที่น้ำเต็มโอ่งแล้ว การเปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งต่อไป เราจะใช้วิธีการลดปริมาณน้ำในโอ่งลง ให้เหลือน้อยลง คือลดลง 1/4 ของปริมาณน้ำทั้งหมด
3. เมื่อลดปริมาณน้ำเสร็จแล้ว เราก็จะเริ่มขั้นตอนของการเพิ่มปริมาณน้ำขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกว่าปลาที่เลี้ยงไว้จะเจริญเติบโตเต็มที่
การเลี้ยงปลาในโอ่งน้ำ เราจะใช้อีเอ็ม เทลงในโอ่งเลี้ยงปลาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อปลาที่เราเลี้ยงไว้จะได้แข็งแรง ทำให้ปลากินอาหารได้ดีขึ้น
ภาพนี้ ผมผึ่งปล่อยลงโอ่งน้ำ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ครั้ง ตอนนี้โตแล้วครับ ใกล้จะจับขายได้แล้ว
การให้อาหาร
1-2 เดือนแรก ให้อาหารเฉพาะตอนเย็น วันละ 1 ครั้ง หลังจากสองเดือนผ่านไปก็ให้อาหารเช้า-เย็น หลังจากให้อาหารปลาเสร็จ ให้สังเกตดูว่าอาหารที่ให้นั้นปลากินหมดมั้ย ถ้าไม่หมด ก็ให้ลดปริมาณอาหารที่ให้ลง เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย
แหล่งจำหน่าย
ขายตามหมู่บ้านครับ กิโลกรัมละ 60-70 บาท
การเลี้ยงกบในบ่อดิน คุณอาทิตย์ บุญมีรักษ์ 6 ม.1 บ้านค้อ ต.กุดลาด อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 080-1645444
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554
การผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย เกมส์จับคู่เพิ่มทักษะเด็กๆ สื่อฝึกทักษะเด็กปฐมวัย
เกมการจัดหมู่ สัตว์บก สัตว์น้ำ
สนใจติดต่อสอบถาม :
คุณนุช สีสิม โทร: 085-4154628
1. กระดาษ A4
2. กระดาษแข็ง
3. ไม้บรรทัดเหล็ก
4. คัดเตอร์
5. กระดาษกาว 2 หน้า (หรือกาวน้ำ)
6. กระดาษสี (ลวดลาย หรือสีล้วน)
7. สติ๊กเกอร์ใส
วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554
การผลิตสื่อจากวัสดุเหลือใช้ การทำหุ่นจากกล่องยาสีฟัน สื่อการสอนปฐมวัย
การทำหุ่นจากกล่องยาสีฟัน
สนใจติดต่อสอบถาม :
คุณนุช สีสิม โทร: 085-4154628
วัสดุอุปกรณ์
- กล่องกระดาษ (กล่องนม, กล่องยาสีฟัน)
- กรรไกร
- กาว
- กระดาษสี
วิธีทำ
1. นำกระดาษสีห่อกล่องกระดาษให้สวยงามเขียนจุดประ เพื่อตัดตามจุดประ 3 ด้านเท่านั้น (ดังภาพ)
2. ตัดครึ่งกล่องติดหน้า จมูก ปาก หู ตา เป็นรูปช้าง สุนัขจิ้งจอก หมู หรือหน้าสัตว์ที่ต้องการ (จะมีด้านที่ 4 เป็นตัวเชื่อม ปากบน-ล่าง)
ประโยชน์
ใช้ประกอบการเล่นหุ่น ซึ่งเล่าประกอบนิทานก็ได้ เพื่อความสนุกสนานของบทเรียน และความตื่นตาตื่นใจกับอุปกรณ์ใหม่ ๆ เด็กนักเรียนสามารถทำเองได้
เพื่อฝึกความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมือให้สัมพันธ์กันในการบังคับการปิด-เปิดของปากช้าง สุนัขจิ้งจอก หมู
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)