การเลี้ยงกบ
ในปัจจุบันกบตามธรรมชาติแทบจะไม่มีให้เราได้พบเห็นกัน
เนื่องจากกบเป็นสัตว์ที่มีความนิยมในการบริโภคกันมาก จึงทำให้อาชีพจับกบขาย
เป็นอาชีพที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ จึงทำให้กบที่มีในธรรมชาติหมดไป
แม้แต่ลูกอ๊อดที่เกิดขึ้นมา ก็ยังไม่มีโอกาสที่โตขึ้นเป็นกบได้
จึงทำให้เกิดอาชีพการเลี้ยงกบขึ้น ทำให้มีผู้คิดค้นหาวิธีการเลี้ยงกบ
และพัฒนาการเลี้ยงกบในรูปแบบที่แตกต่างกันไป
ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงกบในบ่อดิน บ่อปูน
หรือการนำเอายางรถยนต์มาทำเป็นที่เลี้ยงกบ ฯลฯ
แต่ไม่ว่าจะเป็นการเลี้่ยงกบในรูปแบบใด ล้วนแต่มีปัญหาในการเลี้ยงทั้งนั้น
ปัญหาที่พบ นั่นก็คือ อัตราการรอดตายของลูกกบที่เลี้ยง
จากประสบการณ์การเลี้ยงกบที่ผ่านมาก หากผู้ที่สนใจการเลี้ยงกบ
ขอแนะนำการเลี้ยงกบในบ่อดินจะดีกว่า
เนื่องจากว่าการเลี้ยงในบ่อดินจะมีอัตราการรอดตายสูงกว่าการเลี้ยงในรูปแบบ
ต่าง ๆ การเลี้ยงกบในบ่อดินจะพบปัญหาการตายของกบน้อย ไม่พบปัญหาเรื่องโรคกบ
หรือโรคท้องแดง ฯลฯ และก็ไม่ให้ใช้ยาปฏิชีวนะ
มาดูการเลี้ยงบ่อดิน ว่าวิธีการเลี้ยงเขาเลี้ยงกันยังไง
1. บ่อเพาะลูกอ๊อด
2. บ่ออนุบาลลูกอ๊อด
3. บ่อคัดแยกขนาดลูกกบ
4. บ่อเลี้ยงกบโต
1. บ่อเพาะลูกอ๊อด
การสร้างบ่อเพาะลูกอ๊อด อาจจะทำเป็นบ่อปูน หรือบ่อพลาสติกก็ได้ ถ้าเป็นบ่อปูนอาจจะลงทุนสูงหน่อย แต่คงทนถาวรใช้ได้นา แต่ถ้าเป็นบ่อพลาสติกจะมีระยะเวลาในการใช้งานประมาณ 1-2 ปี จากภาพข้างล่างเป็นบ่อพลาสติก ที่กำลังเพาะลูกอ๊อด การเจริญเติบโตของลูกอ๊อดจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน ในการอยู่ในบ่อเพาะ หลังจากวันที่ 7 เราก็จะนำลูกอ๊อดในบ่อเพาะเลี้ยงลงไปในบ่อดิน ที่เราเตรียมไว้แล้ว ใช้เวลาเลี้ยงในบ่อดินประมาณ 10 วัน รวมเป็น 17 ก็สามารถจับจำหน่ายได้2. บ่ออนุบาลลูกอ๊อด
หลังจากที่ใช้เวลาเลี้ยงลูกอ๊อดในบ่อดินเป็นเวลา 17 แล้ว ลูกอ๊อดจะเริ่มมีขาหลังงอกออกมา เราจะใช้เวลาเลี้ยงลูกกบในดินอีกประมาณ 10 วัน ลูกอ๊อดจะเริ่มโตเต็มที่ เราก็จะนำลูกอ๊อดขึ้นมาคัดเอาตัวที่โตเต็มที่และสมบูรณ์ที่สุดขึ้นมาอนุบาลไว้ในบ่อ โดยการนำท่อปูนมาทำเป็นบ่ออนุบาล จนกว่าลูกอ๊อดจะมีขาข้างหน้างอกขึ้นมา หลังจากที่ลูกอ๊อดมีขางอกออกมาครบ 4 ขาแล้ว เราก็จะนำลูกอ๊อดเหล่านั้นไปลงในบ่อดิน ซึ่งบ่ออนุบาลลูกกบควรจะมีปริมาณน้ำในบ่อเล็กน้อย ช่วงนี้เราจะยังไม่ให้อาหาร เนื่องจากช่วงที่ลูกกบกำลังจะกัดหาง ลูกกบจะไม่กินอาหาร จนกว่าลูกกบจะกัดหางแล้วเราจึงจะเริ่มให้อาหารลูกกบ ใช้อาหารเบอร์ 1 พยายามสังเกตุดูว่าลูกกบกินอาหารหมดไหม ซึ่งช่วงนี้จะเป็นการฝึกให้ลูกกบกินอาหารและการกินอาหารจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปริมาณการให้อาหารก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยแต่เราจะต้องคอยควบคุมปริมาณน้ำในบ่อให้มีปริมาณพอท่วมหลังลูกกบเท่านั้น เพื่อลูกกบจะได้กินอาหารได้ง่าย
หลังจากที่ลูกกบโตได้ขนาด 2 เซนติเมตร เราก็จะทำการคัดแยกออกจากบ่ออนุบาลลูกกบลงไปไว้ในบ่อคัดแยกขนาดลูกกบ เพื่อป้องกันการกัดกินกันของลูกกบ
3. บ่อคัดแยกขนาดลูกกบ
บ่อคัดแยกขนาดลูกกบ จะต้องมีประมาณ 2-3 บ่อ เพื่อที่เราจะแยกขนาดของลูกกบให้มีขนาดตัวเท่ากัน เพื่อลดปัญหาการกัดกินกันเอว หลังจากเลี้ยงในบ่อคัดแยกแล้ว สังเกตุดูว่า เมื่อลูกกบมีขนาด 3-4 เซนติเมตร ก็ให้คัดขนาดลูกที่มีขนาด 3-4 เซนติเมตร ไปลงในบ่อเลี้ยงหรือเราเรียกว่าบ่อขุนลูกกบ4. บ่อเลี้ยงกบโต
การเพาะเลี้ยงกบนอกฤดู 2557
เริ่มเพาะลูกกบเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2557
ลูกกบรุ่น 2 กำลังทยอยขึ้นจากบ่อแล้วครับ กำลังกัดหาง ประมาณ 2 สัปดาห์ก็คงจะจับขายได้ครับ
กำลังเตรียมบ่อเพิ่มครับ เพื่อรองรับลูกกบที่กำลังจะขึ้นมาจากบ่อเพาะ เพื่อนำขึ้นมาอนุบาลให้โตเป็นลูกกบ
ตั้งแต่เลี้ยงกบมาไม่เคยคิดว่าจะหาตลาดขายไม่ได้ครับ กลัวแต่ว่าจะผลิตลูกยังไงให้พอกับความต้องการของลูกค้า
จำหน่ายลูกกบ 2 กรกฎาคม 2557
มีลูกกบขาย อายุ 40-50 วัน ประมาณ 6,000 ตัว ตัวละ 1 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น