วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

เพาะเลี้ยงกบในบ่ดิน


การเพาะเลี้ยงกบในบ่อดิน


อาทิตย์  บุญมีรักษ์  เป็นเกษตรกรมือใหม่ 
อาศัยอยู่บ้านเลขที่  6 หมู่ 1 บ้านค้อ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000


        ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบทำการเกษตร แต่ติดตรงที่ว่ามีเวลาว่างไม่มากนัก เพราะต้องทำงานด้วย โดยกำเนิดแล้ว ผมก็เป็นลูกชาวนาอยู่แล้วครับ จึงหันมาสนใจการทำเกษตรพอเพียงโดยการทดลองเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก เลี้ยงอยู่ประมาณ 2 ปีได้ แต่ส่วนมากแล้ว ที่เลี้ยงไว้จะใช้ทำเป็นอาหารครับ เป็นการลดค่าใช้จ่ายไปในตัว อย่างน้อยเราก็มีปลาที่เราเลี้ยงไว้ วันไหนไม่มีกับข้าว เราก็จับมันมาทำเป็นอาหารได้ครับ  ไม่มีอดครับ
         ตอนนี้ผมหันมาศึกษาการเลี้ยงกบครับ เลี้ยงมาเป็นเวลา 2 ปีแล้วครับ  แต่ไม่ได้เลี้ยงในเชิงธุรกิจ ครั้งแรกที่เริ่มเลี้ยง ผมได้พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์มาเพียงแค่ 2 คู่  ก็เลยทดลองเพาะลูกอ๊อด โดยการศึกษาจากอินเตอร์เน็ตครับ ลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง 
         เพาะครั้งแรก   ไม่ประสบความสำเร็จ 
         เพาะครั้งที่สองจึงประสบความสำเร็จ ได้ลูกอ๊อดมาหนึ่งคอก  ประมาณ 100  ตัว เลี้ยงไป ๆ มา ๆ จนลูกอ๊อดกลายเป็นกบที่รอดตายจริง ๆ เพียงแค่ 10 ตัวเองครับ
         เพาะครั้งที่สาม  จึงได้มาศึกษาการเพาะลูกอ๊อด และอนุบาลลูกอ๊อด ครั้งนี้ผมได้ลูกอ๊อดมาประมาณ หนึ่งคอกเช่นกัน แล้วก็ได้ทดลองอนุบาลจนลูกอ๊อดมีขางอกออกมา และกลายเป็นลูกกบ ประมาณ 1,000 กว่าตัว  ครั้งนี้ดีใจมากที่เพาะลูกอ๊อดได้สำเร็จ 


การเพาะเลี้ยงกบในบ่อดิน
        การเลี้ยงกบเป็นอาชีพ หนึ่งที่สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งในการเลี้ยงนั้นควรมีความเข้าใจถึงวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องก่อนจึงจะทำ ให้การเลี้ยงประสบความสำเร็จได้

บ่อเพาะลูกกบ
 
     วัสดุที่ใช้
         1. ตาข่าย 
         2. ผ้ายาง
         3. ลวด
         4. ครีมตัดลวด
     ขั้นตอนการทำบ่อ
         -  ขุดบ่อขนาด  1.50 x 2.00 เมตร ความลึกตรงกลางของบ่อ  ประมาณ  15  เซนติเมตร
         -  ขอบบ่อปรับพื้นดินให้มีความลาดเอียง 
         -  นำผ้ายางมาปู แล้วนำดินมากลบขอบผ้ายางให้มิดชิด  
         -  นำตาข่ายมาล้อมรอบบ่อ เพื่อป้องกันศัตรูกบ
         -  นำหญ้ามาปลูก เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติที่สุด  เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์ขึ้นไปหลบซ่อนตัวได้
         -  ต่อท่อน้ำติดสปริงเกอร์ เพื่อทำเป็นฝนเทียม


การผสมพันธุ์กบ


         ส่วนมากกบจะทำการผสมพันธุ์ และวางไข่หลังจากฝนตก เมื่อเลือกกบ ที่มีลักษณะดีแล้วให้นำมาปล่อยในบ่อผสมพันธุ์ในอัตราตัวผู้ 5 ตัวต่อตัวเมีย 10 ตัว (ตัวผู้กับตัวเมียมีขนาดเท่ากัน) ระดับน้ำในบ่อลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ภายในบ่อ ใส่พวกหญ้าไปด้วยพอประมาณ รักษาระดับน้ำให้คงที่ตลอดเวลา ในช่วงนี้งดให้ อาหารประมาณ 2-3 วัน ถ้ายังไม่มีฝนตกให้เปลี่ยนน้ำใหม่และอาจพ่นน้ำในบ่อผสมพันธุ์ ไห้เหมือนกับฝนตก หลังจากนั้นกบก็จะผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลาเช้ามืด
          หลังจากกบวางไข่แล้ว ให้นำพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ออกจากบ่อ หลังจากการวางไข่ประมาณ 1 วัน ไข่ก็จะฟักออกเป็นตัว
บ่อเพาะลูกกบ

         บ่อนี้เป็นบ่อที่ผมทดลองเพาะลูกอ๊อดและประสบความสำเร็จในการเพาะ และสามารถเพาะลูกอ๊อดได้ในแต่ละครั้งถึง  2-3  กิโลกรัม และเราสามารถขายได้ในราคากิโลกรัมละ  200 บาท 
         มาดูบ่อที่เตรียมไว้เป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์  ครับ
        

           บ่อนี้ครับ มีอายุ  5 - 6  เดือน ครับ  อีกไม่นาน ก็คงจะพร้อมที่จะลงบ่อเพาะเลี้ยงได้ครับ  ลองมาดูอีกบ่อหนึ่งครับ
           ที่ผมเลี้ยงไว้  การให้อาหาร  ผมจะแยกให้กบขึ้นไปกินบนบก  เพื่อป้องกันน้ำเสียครับ ซึ่งโดยปกติแล้ว ผมจะเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน  แต่ตอนนี้ผมจะเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก  2  วันครับ จะสังเกตเห็นว่าน้ำในบ่อน้ำนี้ไม่ได้ใหญ่มากนะครับ ลึกประมาณ  3  นิ้วครับ ประหยัดน้ำ  อาหารที่ให้ก็ไม่ละลายน้ำเสียจนหมดครับ

          ลองมาดูอีกบ่อครับ  บ่อนี้อา่ยุ 4-5  เดือนครับ  แต่เหลือไม่เยอะครับ ประมาณ 100 ตัวเศษ ๆ เพราะจับมาทำเป็นอาหารบ้าง จับขายภายในหมู่บ้านครับ กิโลกรัมละ  100  บาท   



          ถ้าจะพูดถึงว่าที่เลี้ยง ๆ มาคุ้มมั้ย กับการลงทุนไป คือเราต้องมองว่า ที่เราเลี้ยง ๆ เพื่ออะไร เราเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่าย  หรือเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหาร  แต่ผมคิดว่ามันคุ้มถ้าเราเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหาร  แต่ถ้าเราไม่กิน เราก็จับขายเพื่อได้
          แต่ถ้าจะเลี้ยงในเชิงการค้า ต้องเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไว้เยอะ ๆ ครับ ต้องมีการจัดการที่ดีด้วย



สิ่งที่ควรคำนึงและเตรียมตัวก่อนเลี้ยงกบ 
         ต้องศึกษาหาความรู้เบื้องต้นในการเลี้ยงกบจากฟาร์มกบโดยตรงหรือผู้ที่เลี้ยง กบอยู่แล้ว อย่าอาศัยแค่อ่านจากเว็ปหรือหนังสือ เพราะการปฏิบัติจริงต้องละเอียดอ่อนมาก ๆ

การจัดการที่ดี

         1.  เริ่มตั้งแต่การดูแลบ่อพัก พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ และการให้อาหาร
         2.  เปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยงทุก  2  วัน
         3.  ทำความสะอาดบริเวณที่ให้อาหารก่อนการให้อาหารทุกครั้ง เนื่องจากบริเวณที่เราให้อาหาร จะมีเศษอาหารที่กบกินไม่หมด เก็บทำความสะอาดออกไป
         3.  ต้องคอยสังเกตด้วยว่ามีกบตัวไหนที่กินอาหารไม่ทันเพื่อน ให้จับแยกไปไว้บ่อใหม่เลยครับ เพราะถ้าไม่แยกจะทำให้การเจริญเติบโตของกบช้า
        
มาดูบ่อเพาะลูกอ๊อดครับ


บ่อเพาะลูกอ๊อด


        วันที่ 7 ส.ค. 2554 วันนี้ผมได้นำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ลงบ่อเพาะลูกอ๊อด จำนวน  3  บ่อครับ  และรุ่งเช้ามา พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ จับคู่ และวางไข่แล้วครับ  รอดูต่อไปครับว่าจะเป็นยังไง เดี๋ยวจะนำภาพมาให้ดีอีกทีหนึ่ง
        วันที่ 9 ส.ค. 2554  วันนี้บ่อเพาะลูกอ๊อดของผมทั้ง  3  บ่อ ฟักเป็นตัวแล้วครับ




การอนุบาลและการให้อาหาร
         -  หลังจากที่ลูกกบฟักเป็นตัวอีกประมาณ 2  วัน เราค่อยให้อาหาร
         -  สัปดาห์ที่ 1  ให้กินไข่แดงไปก่อน วันละ  1  ครั้ง
         -  เปลี่ยนถ่ายน้ำสัปดาห์ละ  1  ครั้ง  การเปลี่ยนน้ำให้เอาน้ำในบ่อออกประมาณ 2 ใน 3 ของน้ำที่มีในบ่อ  หลังจากนั้นใำห้เพิ่มน้ำเข้าไปให้ได้ระดับเดิม  (หรืออาจจะเปลี่ยนน้ำเมื่อสังเกตเห็นว่าน้ำเริ่มเน่าเสียแล้ว)
         -  สัปดาห์ที่ 2  ให้กินไข่แดงตอนเช้า  ตอนเย็น ให้หัวอาหารกบเบอร์เล็กสุด บดให้เป็นผง แล้วโรยให้ทั่วบ่อ     
           สังเกต ด้วยว่า หากอาหารในบ่อยังเหลือ ตอนเย็นก็ไม่ต้องให้อาหารเพิ่ม เพราะจะทำให้น้ำเน่าเสีย 
         -  เปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อสังเกตเห็นว่าน้ำเริ่มเน่าเสียแล้ว
         -  สัปดาห์ที่ 3  ให้เฉพาะหัวอาหาร  บดให้แตก แต่ไม่ต้องให้แตกละเอียดมาก วันละ  2  ครั้ง เช้าเย็น
         -  สัปดาห์ที่ 4  เมื่อสังเกตเห็นว่า ลูกอ๊อดมีขางอกออกมาแล้วก็สามารถจับจำหน่ายได้


           ผ่านมา  10 วันแล้วครับ ลูกกบเริ่มโตแล้วครับ ผมจะให้อาหารลูกกบตอนเช้า โดยการให้หัวอาหาร บุให้แตก แล้วโรยให้ทั่วบ่อ ทุก ๆ วันก่อนการให้อาหาร ให้สังเกตดูด้วยว่าอาหารที่ให้ไปนั้น ลูกกบกินหมดหรือยัง ถ้ายังเราอาจจะไม่ให้เพิ่ม หรือให้เพิ่มก็เพียงเล็กน้อย เพื่อที่น้ำในบ่อจะได้ไม่เน่าเสีย และต้องคอยเพิ่มปริมาณน้ำทุก ๆ  2  วัน
          

การอนุบาลลูกอ๊อดให้เป็นกบ
        คัดแยกลูกอ๊อดที่มีขางอกออกมาครบทั้ง  4  ขาแล้ว  ออกจากบ่อลูกอ๊อด นำไปลงบ่ออนุบาลลูกกบ เพื่อป้องกันการกัดกินกันของลูกอ๊อด  ลูกอ๊อดจะรอดตายเป็นลูกกบให้เราก็ช่วงนี้แหละครับ เราต้องคอยคัดแยกลูกอ๊อดทุก  2-3  วันครับ


การเลี้ยงกบตอนที่  2
           การเลี้ยงกบในบ่อดิน  จากการที่ลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง จนมาถึงวันนี้ สามารถเพาะเลี้ยงกบได้ประสบผลสำเร็จ  ตอนนี้ผมมีบ่อเพาะลูกอ๊อด  2  บ่อ  บ่อคัดแยกลูกอ๊อด  4  บ่อ  บ่อขุน 2  บ่อ และบ่อเก็บพ่อพันธุ์อีก  2  บ่อ

              การเลี้ยงกบ ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่ลองทำจริง ๆ แล้ว ยุ่งยาก เพราะต้องดูแลเอาใจใส่อย่างดี ผลตอบแทนจากการเลี้ยงกบที่ผ่านมา

ราคาขายกบในช่วงหน้าฝน

             ตอนนี้กบที่ผมเลี้ยงไว้ น้ำหนักอยู่ที่ 7 - 8 ตัว/กิโลกรัม
              -   ราคาขายส่ง             กิโลกรัมละ         60 - 70   บาท
              -   ราคาขายปลีก           กิโลกรัมละ         80 - 100  บาท

ราคาขายกบนอกฤดูกาล

              -   ราคาขายส่ง         กิโลกรัมละ     70 - 80  บาท
              -   ราคาขายปลีก       กิโลกรัม           100  บาทขึ้นไป

ราคาขายลูกอ๊อด

              -  ราคาขายส่ง      กิโลกรัม      140 - 150  บาท
              -  ราคาขายปลีก    กิโลกรัม      180 - 200  บาท

ราคาขายลูกกบ ที่ตัดหางแล้ว

              -  ลูกกบ  อายุ   1   เดือน                 ตัวละ            1   บาท
              -  ลูกกบ  อายุ   45 วัน - 2   เดือน      ตัวละ          2-3  บาท



                   ผมมีบ่อเพาะลูกอ๊อดอยู่  2  บ่อ แต่ละบ่อเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดได้บ่อละ 15-16  กิโลกรัม
ปัจจุบันผมมีแม่พันธุ์ที่สามารถเพาะลูกกบได้อยู่  7 คู่  และมีพ่อแม่พันธุ์ อายุ 5-6 เดือน ที่เตรียมไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในปี 2556 อยู่ 1,000  ตัว
                              จากการเลี้ยงกบที่ผ่านมา ผมได้ลองทำบัญชีรายรับรายจ่ายจากการเลี้ยงกบ พบว่า กบกินอาหารสิ้นเปลืองมาก

                   การเลี้ยงกบในบ่อดิน จะต้องดูแลเรื่องระบบจัดการน้ำ การระบายน้ำ การให้อาหาร ตลอดจนการป้องกันเรื่องโรคกบ ศัตรูกบ จากการเลี้ยงที่ผ่านมายังไม่พบปัญหาเรื่องโรคกบ แต่พบศัตรูกบ นั่้นก็คือนก อีกา ที่คอยจะมาจับกินกบ  และศัตรูํของลูกก็บ นั่นก็คืองู ที่มาวนเวียนรอบ ๆ บ่อกบ ผมต้องคอยออกไปส่องไฟดูตามบ่อกบทุกคืน เพื่อจัดการกับศัตรูกบ ด้วย


                   อัตราการรอดตายของลูกกบ 80-90% การเลี้ยงกบ ควรทดลองเลี้ยงลูกอ๊อดให้โตเป็นกบก่อน แล้วจะรู้ว่าปัญหาของการเลี้ยงลูกอ๊อดให้รอดตายได้ ก่อนที่จะโตเป็นกบต้องทำยังไงบ้าง เลี้ยงไป ศึกษาการเจริญเติบโตของลูกกบ ปัญหาการกัดกินกันของลูกกบ ปัญหาการตายของลูกกบ เกิดจากอะไร

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

8 ความคิดเห็น:

  1. อยากเลี้ยงบ้าง ดูจะไม่ง่ายเลย

    ตอบลบ
  2. ขอเบอร์มือถือด้วยครับ

    ตอบลบ
  3. โทษทีลุงลืมเบิ่งมันอยุ่ข้างบนแหมะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ22 ธันวาคม 2559 เวลา 00:19

    เบอร์ติดต่อไม่ได้เลยครับลุง

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ22 ธันวาคม 2559 เวลา 00:20

    เบอร์ติดต่อไม่ได้เลยครับลุง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ติดต่อผ่านเฟสบุ๊ก ได้ครับ เฟสชื่อ arthit boonmeerak บางทีผมทำงานอยู่ผมจะไม่รับโทรศัพท์นะครับ

      ลบ
  6. สนใจอยากเลี้ยงค่ะ

    ตอบลบ